เมทัลชีท เป็นวัสดุแผ่นโลหะบาง ๆ ได้รับความนิยมในการใช้งานจากทั่วโลกมานานนับร้อยปี โดยเฉพาะในกลุ่มงานอุตสาหกรรม โรงงาน หรืออาคารสำเร็จรูปที่ต้องการความรวดเร็วในงานก่อสร้าง ต่างนิยมนำประโยชน์ของเมทัลชีทมาใช้ห่อหุ้ม ทั้งส่วนหลังคาและผนังอาคาร ส่วนการนำเมทัลชีทมาใช้ในประเทศไทย ระยะแรกเน้นเฉพาะงานอุตสาหกรรมเช่นกันครับ และต่อมาเมทัลชีทได้รับความนิยมสูงมาจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นคู่แข่งสำคัญของวัสดุหลังคากระเบื้องก็ว่าได้
ข้อดีต่าง ๆ ของหลังคาเมทัลชีท ที่วัสดุประเภทกระเบื้องไม่สามารถทำได้ แต่ก่อนจะเรียนรู้ข้อดี ของเมทัลชีท ผู้เขียนต้องขอชี้แจงก่อนว่า วัสดุแต่ละประเภทนั้นต่างมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป และวัสดุแต่ละประเภท มีเกรดคุณภาพที่แตกต่างกัน ในเนื้อหาชุดนี้จึงหมายรวมเฉพาะเมทัลชีทที่มีคุณภาพมาตรฐานเท่านั้น และไม่ได้หมายถึงว่า หลังคาเมทัลชีทจะดีกว่าหลังคากระเบื้องนะครับ แต่หมายถึงเฉพาะส่วนที่งานกระเบื้องทำไม่ได้เท่านั้น
8 คุณสมบัติเด่น ที่หาได้เฉพาะหลังคาเมทัลชีท
1. หลังคาเมทัลชีท ยาวต่อเนื่องตลอดทั้งผืน
วัสดุหลังคากระเบื้องที่เราคุ้นเคยกัน โดยปกติจะออกแบบในลักษณะแผ่นเล็กๆ วางซ้อนทับกันตลอดทั้งผืนหลังคา ตรงจุดนี้ทำให้เกิดข้อบกพร่องในงานก่อสร้างที่อาจเกิดรอยต่อรั่วซึมภายหลังได้ และทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงานบางอย่าง แต่สำหรับเมทัลชีทซึ่งเป็นแผ่นเหล็กรีดลอน สามารถผลิตให้มีความกว้างยาวได้ จึงสามารถลดปัญหาจุดรอยต่อ จุดรั่วซึมไปได้มากครับ
2. เมทัลชีทคายความร้อนได้ดีกว่า
หากเปรียบเทียบคุณสมบัติป้องกันความร้อน แน่นอนว่าหลังคากระเบื้องซึ่งผลิตจากคอนกรีต สามารถกันความร้อนได้ดีกว่าวัสดุประเภทโลหะ ที่มีคุณสมบัตินำความร้อน แต่หากเปรียบเทียบในด้าน “คายความร้อน” วัสดุเมทัลชีทจะสามารถคายความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้องครับ นั่นหมายถึงหลังจากพระอาทิตย์ตกดินลงไปแล้ว ความร้อนที่กำลังสะสมภายในบ้านจะถูกคายออกอย่างรวดเร็ว แต่หลังคากระเบื้องคอนกรีต มีคุณสมบัติอมความร้อน ภายในบ้านจึงเย็นช้ากว่าเมทัลชีทครับ
3. ชายคาเมทัลชีท ออกแบบให้ยื่นยาวได้
การออกแบบหลังคารูปทรงไทย เช่น ปั้นหยา จั่ว โดยปกติจะออกแบบให้มีชายคายาวออกไปประมาณ 1 เมตร เหตุผลของการออกแบบ 1 เมตร นอกจากด้านดีไซน์แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับด้านโครงสร้างหลังคา เพราะหากยาวเกินกว่านั้นโครงสร้างหลังคาจะไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างเพิ่มเติมเพื่อมารองรับน้ำหนักหลังคาที่ยื่นยาวออกไป แต่หากเป็นวัสดุเมทัลชีทซึ่งมีน้ำหนักเบา ทำให้การออกแบบหลังคา ข้ามขีดจำกัดเหล่านี้ไปได้ครับ
4. หลังคาเมทัลชีท รองรับองศาต่ำ
นอกจากชายคาแล้ว จุดที่เมทัลชีททำคะแนนได้ดีมากนั่นคือ สามารถออกแบบรูปทรงหลังคาต่ำได้ โดยปกติการใช้หลังคากระเบื้องจะออกแบบองศาความชันของหลังคาซีแพ็คประมาณ 25-40 องศา หรือหากเป็นหลังคาลอนคู่ สามารถออกแบบได้ต่ำลงมาอีกนิด โดยรองรับความชัน 15 องศา แต่นั่นก็ไม่สามารถเทียบกับหลังคาเมทัลชีทได้เลย เพราะสามารถรองรับความชันเพียง 4-5 องศาสำหรับรุ่นธรรมดา และต่ำสุด 2 องศาสำหรับรุ่นที่ออกแบบมาพิเศษ
เหตุผลที่หลังคากระเบื้องไม่สามารถรองรับองศาต่ำได้ เนื่องด้วยกระบวนการติดตั้งที่จำเป็นต้องซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ หากองศาต่ำมากเกินไป กรณีที่ฝนสาดลมแรงจะส่งผลให้น้ำไหลย้อนกลับเป็นเหตุให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน ส่วนหลังคาเมทัลชีทเป็นแผ่นเดียวกันทั้งผืน จึงไม่เกิดปัญหาเหล่านี้ครับ
และด้วยข้อดีในการรองรับองศาต่ำ สถาปนิกหลายท่าน จึงประยุกต์การใช้งานเมทัลชีทร่วมกับบ้านสไตล์ Modern โดยสามารถซ่อนหลังคาเมทัลชีทไว้ภายใน ซึ่งหากดูจากตัวบ้านภายนอกจะเสมือนว่าเป็นบ้านหลังคาแบน (Slab) แต่แท้จริงแล้วเป็นหลังคาเมทัลชีท อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณและลดปัญหารั่วซึมได้ดีกว่าครับ
บ้านสวยโคราช: ข้อดี หลังคาเมทัลชีท ที่กระเบื้องทำไม่ได้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/