ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: แผลอักเสบ (Infected wound)  (อ่าน 28 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 316
  • แหล่งรวมของสะสม เว็บลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี ซื้อ-ขายออนไลน์ ใหม่-มือสอง
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: แผลอักเสบ (Infected wound)
« เมื่อ: วันที่ 24 กันยายน 2024, 15:25:31 น. »
Doctor At Home: แผลอักเสบ (Infected wound)

แผลอักเสบเป็นภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนของบาดแผล (เช่น แผลถลอก มีดบาด ตะปูตำ หนามเกี่ยว สัตว์กัด เป็นต้น)

สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (สเตรปโตค็อกคัส หรือสแตฟีโลค็อกคัส) เข้าไปทำให้อักเสบเป็นหนอง

อาการ
บาดแผลมีลักษณะปวด บวม แดง ร้อน หรือเป็นหนอง บางรายอาจมีไข้หรือต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงโตร่วมด้วย


ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่มักดูแลรักษาให้หายขาด และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ มีแผลอักเสบรุนแรง หรือไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด ทำให้เป็นโลหิตเป็นพิษได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ในบางรายแพทย์อาจนำหนองจากรอยโรคไปตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ชะล้างแผลด้วยน้ำเกลือ (ใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะใส่ในน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด) หรือน้ำเกลือนอร์มัล (normal saline)

ถ้าเป็นหนองเฟะ ควรชะล้างด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ แล้วล้างด้วยน้ำเกลือ ใช้น้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเข้มข้น (น้ำตาลทราย 1 กก. ผสมในน้ำ 1 ลิตร เคี่ยวบนเตาไฟ) ใส่แผล แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซสะอาด ควรทำแผลอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง เมื่อเนื้อแผลแดงไม่มีหนองแล้ว ควรชะแผลด้วยน้ำเกลือเพียงอย่างเดียว ไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ รวมทั้งไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ชะตรงเนื้อแผล

2. ถ้ามีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือแผลอักเสบมากให้ยาแก้ปวดลดไข้ และยาปฏิชีวนะ (เช่น เพนิซิลลินวี, ไดคล็อกซาซิลลิน, อีริโทรไมซิน, โคอะม็อกซิคลาฟ) นาน 5-7 วัน

3. ถ้าไข้ไม่ลดใน 3 วัน ซีดเหลือง หรือสงสัยเป็นโลหิตเป็นพิษ หรือบาดแผลมีลักษณะอักเสบรุนแรงในผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่ก่อน มักจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล


การดูแลตนเอง

หากสงสัยเป็นแผลอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นแผลอักเสบ ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลาใน 2-3 วัน
    มีไข้สูง หนาวสั่น ซึม หรือเบื่ออาหาร
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ


การป้องกัน

แผลอักเสบเป็นหนองมักเกิดจากการดูแลบาดแผลสด (เช่น แผลถลอก มีดบาด) ที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น จึงควรแนะนำการดูแลบาดแผลสด ดังนี้

    เมื่อมีบาดแผลสด ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ทันที เพื่อชะล้างเอาสิ่งสกปรกออกไป
    ทารอบแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน อย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรวมทั้ง ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ทาหรือฟอกตรงเนื้อแผล เนื่องจากน้ำยาฆ่าเชื้ออาจทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายช้าได้
    อย่าให้แผลถูกน้ำ หรือใช้น้ำลาย น้ำหมาก หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ พอกที่แผล
    ควรพักส่วนที่เป็นบาดแผลให้มาก ๆ
    กินอาหารได้ตามปกติ ควรกินอาหารพวกโปรตีน ผักและผลไม้ให้มาก ๆ
    ถ้าบาดแผลสกปรก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ


ข้อแนะนำ

1. ควรพักแขนขาส่วนที่มีบาดแผล (เช่น อย่าเดินหรือใช้งานมาก) และยกส่วนนั้นให้สูง เช่น ถ้ามีบาดแผลที่เท้า ควรนอนพักและใช้หมอนรองเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอก ถ้ามีบาดแผลที่มือ ควรใช้ผ้าคล้องแขนกับลำคอให้บาดแผลอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ

2. ไม่มีอาหารใด ๆ ที่แสลงต่อบาดแผล ไม่ว่าจะเป็น ไข่ เนื้อ ส้ม (ดังที่ชาวบ้านมักเชื่อกันอย่างผิด ๆ) ตรงกันข้ามควรบำรุงด้วยอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ) ให้มาก ๆ จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

3. ไม่ควรทาแผลด้วยเพนิซิลลิน (ทั้งชนิดขี้ผึ้งหรือยาฉีดที่เรียกว่า โปรเคน) หรือซัลฟา (ทั้งชนิดขี้ผึ้งหรือยาผง) ยานี้ระยะแรก ๆ อาจทำให้แผลแห้ง แต่ทาต่อไปจะทำให้เกิดการแพ้ มีอาการบวมคัน และแผลกลับเฟะได้ ถ้าจะใช้ยาทาควรใช้ขี้ผึ้งเตตราไซคลีนหรือครีมเจนตาไมซิน น้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม

4. ผู้ที่เป็นแผลเรื้อรังไม่หายขาด อาจเนื่องจากมีภาวะซีดหรือขาดอาหาร จึงควรบำรุงอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารพวกโปรตีน

นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากเบาหวาน ควรตรวจดูน้ำตาลในปัสสาวะหรือในเลือด ถ้าสงสัยเป็นเบาหวาน ควรส่งโรงพยาบาล

5. ฉีดยาป้องกันบาดทะยักในรายที่จำเป็น (ดูโรค "บาดทะยัก" เพิ่มเติม)