ผู้เขียน หัวข้อ: โรคความดันโลหิตสูง ภัยเสี่ยงที่ควรเลี่ยงในผู้สูงอายุ  (อ่าน 132 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 317
  • แหล่งรวมของสะสม เว็บลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี ซื้อ-ขายออนไลน์ ใหม่-มือสอง
    • ดูรายละเอียด
โรคความดันโลหิตสูง ภัยเสี่ยงที่ควรเลี่ยงในผู้สูงอายุ


หนึ่งในโรคที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุคงหนีไม่พ้นอย่าง “โรคความดันโลหิตสูง” ที่เป็นภัยเงียบที่มีความน่ากลัวต่อร่างกาย เพราะยิ่งอายุเพิ่มขึ้นก็ยิ่งเสี่ยงความดันโลหิตสูงมากขึ้น โดยความน่ากลัวของโรคนี้คือมักไม่มีอาการแสดง กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ตัวโรคก็สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจไปแล้ว


ความดันโลหิต คืออะไร?

ความดันโลหิต เป็นค่าความดันของกระแสเลือดที่เกิดจากกระบวนการสูบฉีดเลือดของหัวใจเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยค่าความดันโลหิตสามารถวัดได้ 2 ค่า ได้แก่

    ค่าความดันช่วงบน (Systolic Blood Pressure (SBP)) คือ ค่าความดันโลหิตจากการบีบตัวของหัวใจ
    ค่าความดันช่วงล่าง (Diastolic Blood Pressure (DBP)) คือ ค่าความดันโลหิตจากการคลายตัวของหัวใจ

ซึ่งหากเกิดความผิดปกติของค่าความดันโลหิต เราจะเรียกภาวะนั้นว่า “ความดันโลหิตสูง” หรือ “ความดันโลหิตต่ำ”



ระดับความดันเท่าไหร่ถึงเรียกว่า “ความดันโลหิตสูง”

ความดันโลหิตสามารถวัดค่าได้โดยใช้เครื่องวัดความดัน ซึ่งค่าที่แสดงผลออกมาจะมีหน่วยเป็น (มม./ปรอท) สามารถแบ่งได้ดังนี้

    ค่าความดันช่วงบน น้อยกว่า 120 และค่าความดันช่วงล่าง น้อยกว่า 80 ถือว่าความดันปกติ
    ค่าความดันช่วงบน อยู่ระหว่าง 120 - 139 และค่าความดันช่วงล่าง อยู่ระหว่าง 80 - 89 ถือว่าความดันสูงเล็กน้อย
    ค่าความดันช่วงบน อยู่ระหว่าง 140 - 159 และค่าความดันช่วงล่าง อยู่ระหว่าง 90 - 99 ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
    ค่าความดันช่วงบน มากกว่า 160 และค่าความดันช่วงล่าง มากกว่า 100 ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 หรือระยะอันตราย

ทั้งนี้ การวัดค่าความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันควรวัดซ้ำ 2 - 3 ครั้ง เพื่อเป็นการตรวจเช็คว่าค่าความดันโลหิตไม่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน

 
โรคความดันโลหิตสูง มักไม่มีสัญญาณเตือน!

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแสดง หรือหากมีจะมีเพียงอาการปวดหัว เวียนหัว มึนงง ปวดท้ายทอย หรือเหนื่อยง่ายผิดปกติ ซึ่งหากปล่อยให้มีภาวะความดันโลหิตสูงนานๆ และไม่ทำการรักษา อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายได้



ความดันโลหิตสูง...ปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต

การมีภาวะความดันโลหิตสูงนานๆ จะสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ

    ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง เช่น หัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง
    ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดตีบตัน หากเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น ไต สมอง หรือหัวใจ อาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน หรือไตวาย เป็นต้น


ปัจจัยเสี่ยงและต้นเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

อายุ : เมื่อร่างกายมีอายุที่มากขึ้น เส้นเลือดในร่างกายจะมีความเสื่อมตามอายุ ดังนั้นยิ่งอายุเพิ่มขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็จะสูงมากขึ้นตาม

ประวัติของบุคคลในครอบครัว : หากพบว่ามีบุคคลในครอบครัวมีภาวะความดันโลหิตสูง โอกาสที่โรคความดันโลหิตสูงจะส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่นผ่านพันธุกรรมก็มีมากยิ่งขึ้น

พฤติกรรมการใช้ชีวิต : โรคความดันโลหิตสูงมักเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่ทำจนเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงหรือทานอาหารที่มีโพแทสเซียมไม่เพียงพอ และการไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายน้อย

ผู้ที่มีภาวะอ้วน : ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร่างกายจะต้องสูบฉีดเลือดเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้

ความเครียด : เมื่อร่างกายเกิดภาวะเครียดอาจทำให้มีความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นชั่วขณะได้

โรคเรื้อรังบางชนิด : การเป็นโรคเรื้อรังบางชนิดอาจส่งผลให้มีความดันโลหิตสูงได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

 
ป้องกันความดันโลหิตสูง...แค่เปลี่ยนพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีการดำเนินชีวิต จะสามารถช่วยป้องกันและฟื้นฟูภาวะความดันโลหิตสูงได้ เพียงแค่เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ดังนี้...

    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
    ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มีโซเดียมเยอะ
    งดสูบบุหรี่ และจำกัดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    ลดความเครียด ด้วยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ


ทั้งนี้ หากทราบว่าตนเองเสี่ยงที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูง ควรที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เพราะภาวะนี้มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า นอกจากนี้การตรวจสุขภาพประจำปีก็เป็นส่วนช่วยในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากเป็นการคัดกรองความผิดปกติ เพื่อให้รู้ความเสื่อมถอยของร่างกาย หากรู้ไวทางเลือกในการป้องกันและการรักษาย่อมมีมากกว่า!